เมื่อตอนช่วง Black Friday ที่ผ่านมา ผมได้เห็นการลดราคาสินค้าในหมวด Smart Home ของทั้ง Amazon และ Google เอง ผมนั้นก็ไม่รอดสงครามการลดราคานี้ ทำให้เผลอใจสั่ง Google Home Mini ไป เลยมีโอกาสได้มาศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง Smart home บ้าง
จากโจทย์ที่มีคือสินค้าหลายๆอย่างใน Aliexpress ที่เอามาทำพวก Smart home เนี่ย มักจะติดปัญหาเรื่อง Vendor Lock-in ทำให้ต้องใช้แอปแยกเฉพาะเป็นอย่างๆไป ผมเลยมีโอกาสได้เจอกับ Hassio (Home Assistance) เป็นโครงการ Opensource Smart home automation จากเว็บไซต์เคลมว่า
Hass.io. Hass.io turns your Raspberry Pi (or another device) into the ultimate home automation hub powered by Home Assistant.
ทีนี้ผมเลยได้โอกาสไปลองหา บอร์ด WiFi ถูกๆมาลองเล่น เพื่ออาจจะเอามาใช้กับ Hassio นั่นคือตัวบอร์ด Orange Pi Zero ครับ
รายละเอียด และ คุณสมบัติของ Orange Pi Zero
CPU | Allwinner H2+ (1.3 GHz Quad-core Cortex A7) |
---|---|
GPU | Mali400MP2 GPU @600MHz (Supports OpenGL ES 2.0) |
Memory | 256MB or 512MB DDR3 SDRAM (Shared with GPU) |
Storage | MicroSD card (Max. 64GB); NOR Flash(2MB Default not posted) |
Ethernet | 10/100M Ethernet |
WIFI | 802.11 b/g/n (XR819) |
Audio Input | MIC |
Video Output | AV jack on expansion board via 13 pin |
Power | USB OTG |
USB Ports | One USB 2.0 HOST, one USB 2.0 OTG |
GPIO | 26 Pin and 13 Pin (2x USB, IR, AUDIO) |
Size | 48 mm × 46mm |
Weight | 26g |
สรุปง่ายๆคือ เป็นบอร์ดราคาประมาณ 12.79$ ที่มี Wifi และสามารถใช้งาน Linux บนบอร์ดได้ (สรุปได้มักง่ายมาก)
ในที่นี้ผมเลือกเพราะมันถูกครับ ถูกมาก มี Wifi แถมเป็น Linux บอร์ด ที่ออกแบบมาใช้งานแบบ Headless ตัวจอภาพจริงๆสามารถใช้งานได้ด้วยการใช้ AV Jack ที่ต่อกะ Explansion บอร์ด แต่เอาจริงๆถ้าจะใช้งานต่อจอภาพไปเลือกรุ่นที่มี HDMI เลยดีกว่า ของค่าย Orange Pi ก็มีเป็น Orange Pi One ฯลฯ
ในขั้นแรก ผมเลือกใช้ Image ของ Project Armbian ที่ Optimize Ubuntu 16.04 สำหรับ CPU ARM ทำมาดีพอสมควรเลยครับ
We are the only distribution specialized for ARM development boards. Our primary objectives are optimizing low-level settings, kernel settings and its security and security in general. They lead into lowering consumption, provide top performance and high security at the same time. Not a single of those aspects is covered by board maker or any other distribution.
ในที่นี้ผมเลือกโหลดแบบ Legacy Kernel มาใช้ เพราะผ่านการเทสแล้วว่ามัน Stable มากกว่าแบบ Mainline ที่กำลังเทสอยู่ อันนี้เลือกตามความต้องการใช้งานเลยก็ได้ครับ
ผมจะทำการ Burn Image บน Mac โดยใช้ Etcher โดยมีขั้นตอนง่ายแค่
- เสียบ MicroSD card เข้ามาที่เครื่อง Mac
- เลือก Image file ที่ทำการ Download มา
- เลือก Device ที่ต้องการเบิร์น Image ลงไป
- รอจนกว่าจะเสร็จ ถอดการ์ดออก
- ใส่ MicroSD ไปที่บอร์ด
จากนั้นเราก็ทำการต่อไฟให้กับบอร์ดของเรา ตามสเปคของบอร์ดจะแนะนำให้ใช้ Adapter แบบ 5V 2A เลี้ยงบอร์ด
ในการ Setup ครั้งแรกจะต้องทำการต่อสาย Lan เข้ากับบอร์ดตรงๆเพื่อตั้งค่า WIFi ครับ
ผมต่อเข้ากับ Wifi Router ตรงๆ แล้วก็นั่งดูว่า Device ได้ IP อะไร
หลังจากได้ IP แล้ว เราก็ต่อ SSH ไปที่บอร์ดเลยครับ ไปที่ User:root
Password:1234
$ ssh root@{YOUR_ORANGE_PI_IP}
พอเรา SSH เข้าไปจะบังคับให้เราเปลี่ยน Password ทันที
ต่อมาคือการ Setup Wifi ผมเลือกใช้ nmtui เพราะสามารถใช้งานได้ง่ายมาก เป็น configuration window เลือก SSID ใส่ Password ไปก็ใช้งานได้
แล้วก็ไปแก้ให้ Router Fix DHCP IP ที่จ่ายให้กับ MAC Address ของ WiFi บอร์ดเราครับ
เท่านี้เราก็สามารถใช้งานบอร์ดได้ผ่าน WiFi ได้แล้ว ง่ายมากๆ
ปล.ตัว Armbian สามารถติดตั้ง RPI Monitor ได้ด้วย
# armbianmonitor -r tries to install RPi-Monitor $ armbianmonitor -r
จะทำการติดตั้ง RPI Monitor ที่พอร์ทมาเป็น OPI Monitor ที่รันผ่าน port 8888
ในการ Setup ครั้งนี้ผมก็เจอปัญหาบางอย่างเหมือนกัน คือ
- Adapter จ่ายไฟไม่เสถียรพอที่จะเลี้ยงบอร์ด ทำให้บอร์ดไม่บูทตัวเองขึ้นมา
- สาย MicroUSB ที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้บอร์ดมีไฟติด แต่จะเกิดความร้อนสูงมาก และไม่สามารถใช้งานได้
- ชิปมันร้อนมากครับ รันไปสักวันนึงนี่ร้อนขึ้น 75 องศา ไว้ต้องหา Heat sink มาช่วยครับ
ไว้วันหลังผมเล่นอะไรกับเจ้าบอร์ดนี่มากขึ้นจะมาแชร์กับทุกคนอีกทีนะครับ ขอให้มีความสุขกับช่วงเดือนสุดท้ายของปีครับผม 🙂
Leave a Reply